เขียนเรซูเม่ และ จดหมายสมัครงาน

ภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ | Mobile: 087-8314785

Line: @tfind |Mail: idtecresume@gmail.com

 

720-90-2

 

บริการเขียน Resume ภาษาอังกฤษ ได้รูปแบบมาตรฐาน และภาษาที่ถูกต้อง

ผู้บริหาร 900 บาท ผู้ต้องการเปลี่ยนงาน 750 บาท และผู้จบใหม่ 550 บาท

สำหรับเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ เรายังมีการตรวจไวยากรณ์ เพื่อให้ Resume ถูกต้อง 100 % ใช้เวลาแค่เพียง 2-3 วัน

*** สอบถามโทร 087-8314785 Line ID: @tfind
หากสนใจ สามารถ ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม แล้วสั่งซื้อมาได้ที่อีเมล idtecresume@gmail.com


 

IdtecResume Bannner

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community - AEC)

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community - AEC)

            ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คือ การร่วมกันทางเศรษฐกิจของประเทศในเขตอาเซียน เพื่อผลประโยชน์ในอำนาจการต่อรองทางเศรษฐกิจ การส่งออก และการนำเข้าของสินค้า ที่จะเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2558 AEC เป็นส่วนหนึ่งของกฏบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นร่างข้อตกลงของประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียนหรือที่เรียกว่า ASEAN Community โดยจุดประสงค์หลักของ AEC คือเพื่อที่ประเทศสมาชิกจะได้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน โดยจะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone (ยูโรโซน) การรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนจะทำให้มีอำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าอันหมายถึงประเทศอื่นๆ นอกอาเซียนได้มากขึ้นและส่งเสริมให้การนำเข้าและส่งออกของชาติในอาเซียนเสรีมากขึ้น โดยการรวมตัวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) จะมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2558 (ค.ศ. 2015) เมื่อวันนั้นมาถึงจะทำให้ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปมากอย่างที่พวกเราคิดไม่ถึงทีเดียว

ผลประโยชน์ของไทย ในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน 

1. ด้านตลาดแรงงาน พบว่า ประเทศไทยมีอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับต่ำ และประสิทธิภาพของแรงงาน ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในอาเซียน และมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆตามลําดับ ขณะเดียวกัน รายได้ประชากรต่อหัวของไทยที่ได้รับโดยเฉลี่ยก็อยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

2.ด้านการท่องเที่ยว พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับไปทั่วโลก

3.ขนาดของตลาด ประเทศไทยมีจํานวนประชากรสูงถึง 66.7 ล้านคน มากเป็นอันดับ 4 รองจากประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ขณะที่ เมื่อพิจารณาโครงสร้างอายุประชากรของประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว พบว่า มีความคล้ายคลึงกันโดยประชากรส่วนใหญ่ในแต่ละประเทศอยู่ในวัยหนุ่มสาวและวัยทํางาน (อายุระหว่าง 15-64 ปี) ประมาณร้อยละ 70 ของประชากรทั้งหมดใน ซึ่งไทยได้ผูกพันเปิดตลาดทั้งหมด 143 รายการ ตามข้อตกลงการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ซึ่งครอบคลุมสาขาบริการหลัก อาทิ บริการวิชาชีพ (ได้แก่ วิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และบัญชี เป็นต้น) คอมพิวเตอร์และการสื่อสารการ ก่อสร้าง การจัดจําหน่าย (อาทิ บริการค้าส่งเครื่องกีฬาและบริการแฟรนไชส์ เป็นต้น) การศึกษาในทุกระดับ บริการด้านสุขภาพ บริการสิ่งแวดล้อม และบริการท่องเที่ยว เป็นต้น ตลอดจนการวางยุทธศาสตร์ของประเทศโดยใช้จุดแข็งที่กล่าวมาแล้วให้เป็น ประโยชน์มากยิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่และเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ AEC มากที่สุด

4.ทําเลที่ตั้ง ประเทศไทยมีความได้เปรียบในด้านยุทธศาสตร์การคมนาคมอยู่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งได้เปรียบการคมนาคมทั้งทางบกและทางอากาศ จากแหล่งทําเลที่ตั้งในภูมิภาคอาเซียน รวมไปถึงแหล่งทําเลที่ตั้งในโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub-region : GMS) ซึ่งทําให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการคมนาคมในภูมิภาคอาเซียนได้ไม่ยากนัก นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางทางการบินและคมนาคมทางบกที่จะเชื่อมประเทศคาบสมุทรอินโดจีนและเชื่อมโยงเอเชียเหนือโดยเฉพาะจีนกับเอเชียตะวันตกโดยเฉพาะอินเดียเข้าด้วยกัน

แม้ว่าประเทศไทยมีจุดเด่นและข้อได้เปรียบกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคอาเซียน แต่ประเทศไทยก็ยังต้องเตรียมพร้อมอีกหลายด้าน เช่น ในด้านภาษีซึ่งปัจจุบันอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของไทยอยู่ที่ 30% ซึ่งถือว่าสูงกว่าประเทศอื่นๆในอาเซียน แต่ก็จะมีการปรับลดลงเหลือ 23% ในปี 2555 และเหลือ 20% ในปี 2556 ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะทําให้ระบบภาษีของไทยเอื้ออํานวยต่อการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังต้องพัฒนาสินค้าที่ มีศักยภาพในการแข่งขันสูงอย่างต่อเนื่องอาทิ รถยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ เพื่อให้เติบโตต่อไปได้ตามการขยายตัวของสินค้าในตลาดโลก

ผลกระทบของไทย ในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน

1.ปัญหาเรื่องแรงงาน แน่นอนว่าจะมีปัญหาการโยกย้ายของแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นแรงงานราคาถูกจากพม่าและกัมพูชา ซึ่งเป็นไปได้สูงที่แรงงานเหล่านี้จะเคลื่อนจากประเทศไทยกลับไปยังประเทศตัวเอง หรือไปสู่แหล่งจ้างแรงงานใหม่ที่ดีกว่า

2.ศักยภาพทางด้านภาษา มีความเป็นไปได้สูงที่การว่าจ้างแรงงานอาจต้องเป็นลักษณะการว่าจ้างจากหลากหลายชาติตามความเหมาะสมของศักยภาพในการทางาน เพราะฉะนั้นแรงงานไทยถ้าต้องการหาโอกาสที่ดีในตลาดอาเซียนก็คงต้องปรับตัวในเรื่องของภาษาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ข้อนี้นับเป็นโจทย์ที่ใหญ่โตทีเดียว
3.ประเทศไทยจะเจอคู่แข่งขันหลายด้าน เอาเฉพาะเรื่องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างเดียว ด้านหนึ่งเราถูกขนาบด้วยพม่า ซึ่งยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรและแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง ในอีกด้านก็ถูกขนาบด้วยกัมพูชา ซึ่งตั้งเป้าหลังจาก 5 ปีข้างหน้า จะดึงนักท่องเที่ยวจากจีนเข้าสู่ประเทศให้ได้ปีละ 1 ล้านคน ขณะนี้มีการเตรียมตัววางบุคลากรให้เรียนภาษาจีนเพื่อรองรับตลาดการท่องเที่ยวจากจีนที่มีแนวโน้มจะเพิ่มเข้ามาประเทศกัมพูชาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

หากการเมืองยังเป็นเช่นนี้ ก็จะกลายเป็นปัจจัยที่บ่อนทำลายตัวเอง ทำลายศักยภาพในการแข่งขัน เรื่องการเมืองจึงถือว่าเป็นเรื่องสาคัญถ้าเราต้องการสร้างโอกาสในเวลาที่ประชาคมอาเซียนเป็นหนึ่งเดียว การเมืองของประเทศไทยจะต้องก้าวเข้าสู่วิถีของการปรองดองเท่านั้น ทั้งหมดจึงมีคาตอบว่าโอกาสที่อาเซียนจะเป็นผลด้านบวกให๎กับประเทศไทยในอนาคตข้างหน้าไม่ใช่เรื่องง่าย เราคงต้องปรับตัวเองเกือบทุกด้าน ทั้งในด้านการเมือง ภาคเอกชน คุณภาพของบุคลากรด้วย

Mutual Recognition Agreement (MRA)

การยอมรับคุณสมบัติของนักวิชาชีพที่สำคัญร่วมกัน เพื่อการถ่ายเทแรงงานฝีมือได้เสรีมากขึ้น ปัจจุบัน ASEAN มีการลงนามร่วมกันใน MRA 7สาขาอาชีพ คือ วิศวกรรม การสำรวจ สถาปัตยกรรม แพทย์ทันตแพทย์ พยาบาล และบัญชี

ถ้าเรามาดูเรื่องที่เกี่ยวพันกับตัวเรามากที่สุด ก็ค้องพูดถึงข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบรวมไปถึงสิ่งที่แรงงานอย่างพวกเราต้องเร่งพัฒนาเพื่อตอบสนองการเกิดประชาคมอาเซียน โดยขอเริ่มที่ข้อได้เปรียบเพื่อเป็นกำลังใจให้กับพวกเราก่อน ข้อแรกคือ ตลาดแรงงานจะใหญ่ขึ้น พวกเราจะมีสถานที่ทำงานให้เลือกสรรมากขึ้น และสำหรับมีโอกาสที่จะได้รับค่าแรงที่สูงขึ้น หากวิชาชีพของท่านเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน นอกจากนั้นจะเกิดความร่วมมือระหว่างประเทศภาคีสมาชิกในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้อยู่บนมาตรฐานเดียวกันแสดงว่าท่านมีโอกาสที่จะได้รับการพัฒนามากขึ้น โดยสามารถอยู่ในประเทศใดก็ได้ ภายใต้ระเบียบ กฎหมายและมาตรฐานแบบเดียวกัน สรุปว่า เงินเพิ่ม เรียนรู้เพิ่ม โอกาสเพิ่ม

พอมาดูถึงข้อเสียเปรียบ สิ่งแรกคือ แรงงานจะไหลบ่า ทะลักเข้ามาอย่างห้ามไม่ได้ เป็นที่คาดว่า เมื่อมีการเปิดเสรีแรงงานเต็มที่จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานทักษะ อาทิ สถาปนิกและวิศวกรในอาเซียน ไปที่สิงคโปร์และมาเลเซียมากขึ้น แต่เมื่อกรอบการขยายบวกเป็นอาเซียนบวก3 อาเซียนบวก 6 บุคลากรในภาคต่าง ๆ เช่น ภาคการเงิน ธนาคาร และไอที คาดว่าจะมีการเคลื่อนย้ายเข้ามาเมืองไทยมากขึ้น และแย่งงานคนไทยมากขึ้นและ ค่าจ้างอาจถูกลง

ฉะนั้นสิ่งที่แรงงานอย่างเรา ๆ ท่านๆ จะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน คือ การเตรียมพร้อมเรื่องภาษาต่างประเทศสำหรับใช้ในการสื่อสารและการทำงาน รวมไปถึงความรู้ด้านวิชาการในแขนงต่าง เพื่อปรับตัวเข้าหาทุนต่างชาติและพัฒนาตัวเองให้เทียบเท่าหรือดีกว่า แรงงานจากชาติอื่น ๆ โดยพิจารณาจากมาตรฐานวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับระดับสากล การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ท่านเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน แค่อ่านสิ่งที่ตัวเองต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือประชาคมอาเซียนในอีก 4 – 5 ปีข้างหน้า ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากหากเราทุ่มเท และพยายาม

ขอบคุณข้อมูลจาก: http://www.siamrathjobs.com/socialdetail.php?id=191#.T5DnHbP9Ml8

นสพ.โพสต์ทูเดย์  และนสพ.โลกวันนี้ โดย ประณีต ขิระนะ

*** มี Resume ภาษาอังกฤษ อยู่แล้ว ต้องการจัดรูปแบบ (Template) ให้สวยขึ้น สั่งได้เลยนะครับ 150 บาท ทำแบบให้ใหม่ ส่งได้ใน 1-2 วันครับ สั่งได้เลยที่ Line Id: @tfind หรือที่เมล idtecresume@gmail.com ตลอด 24 ชั่วโมง ดูตัวอย่างแบบ Resume ได้ที่ https://www.idtecresume.com/resume-template.html